วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โครงงานการผลิตกระถางต้นไม้จากกระดาษ

โครงงานวิทยาศาสตร์

เรื่อง
การผลิตกระถางจากฟางข้าว

เสนอ
อาจารย์สุธิมา เทศถมยา

โดย
นางสาวจิตติมา สีแดง เลขที่ 2
นางภภัสสร ทับทิม เลขที่ 13
นางรุ้งเพชร รื่นเกษม เลขที่ 16
นางสาวอภัสรา ฉิมฉ่ำ เลขที่ 34

วิทยาลัยการอาชีพบ้านลาด ตำบลท่าเสน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี





คำนำ


กระถางต้นไม้จากฟางข้าว เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกษตรกรในหลายๆจังหวัดในประเทศไทยรวมทั้งจังหวัดเพชรบุรีด้วย ได้นำวัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ผู้จัดทำโครงงานเห็นว่า โครงงานการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ภาคเกษตรนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่นบ้าง ที่สำคัญสามารถนำข้อมูลในโครงงานไปทำใช้ได้เองหรือผลิตเพื่อจำหน่ายเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง
อนึ่งโครงงานเรื่องการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ภาคเกษตรนี้ยังขาดความสมบูรณ์อยู่อีกมาก คณะผู้จัดทำยินดีรับคำแนะนำจากผู้รู้ด้วยความขอบคุณ แต่หวังว่าโครงงานการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ภาคเกษตรฉบับนี้ คงเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจเรื่องการเพิ่มมูลค่าววัสดุเหลือใช้ภาคเกษตรบ้างไม่มากก็น้อย




คณะผู้จัดทำ





















สารบัญ

คำนำ
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ
บทนำ
วัตถุประสงค์
เป้าหมายโครงการ
วิธีดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินการ
งบประมาณ
ขั้นตอนการทำ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
สถานที่ดำเนินการ
ภาคผนวก





















กิตติกรรมประกาศ

ในการจัดทำโครงงานการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นครั้งนี้ ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณ อาจารย์สุธิมา เทศถมยา และ มหาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ที่ให้ข้อมูลการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อลดภาวะโลกร้อน ทำให้โครงงานการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ภาคเกษตรสำเร็จลุล่วงด้วยดี
ผู้จัดทำขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ที่มองเห็นความสำคัญของการสร้างงานโดยใช้วัสดุที่มีในชุมชน อันเกิดจากภูมิปัญญา เพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น



คณะผู้จัดทำ
























บทนำ

การทำกระถางต้นไม้จากฟางข้าวเป็นแนวทางหนึ่งในการลดภาวะสิ่งแวดล้อม และใช้วัสดุเหลือใช้ภาคเกษตรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังเป็นการรักษาระบบนิเวศน์ ไม่ให้เกิดมลพิษทางกลิ่น ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในเพชรบุรี ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตร และข้าวก็เป็นอีกพืชหนึ่งที่นิยมปลูกกันทั่วไป หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ฟางก็จะถูกทิ้งให้เน่าเสีย ใช้เป็นอาหารสัตว์บ้างเล็กน้อย
ดังนั้นกลุ่มจึงได้คิดนำฟางมาทำกระถาง เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน และเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ช่วยลดภาวะโลกร้อน
การจัดทำโครงงานการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจะชี้ให้เห็นช่องทางออกในการใช้วัสดุเหลือภาคเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยรวมทั้งให้เห็นทางออกที่ใช้ทรัพยากรในชุมชนที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทางผู้จัดทำ มองเห็นประโยชน์จากการจัดทำโครงงานในเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะในด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมโดยรวม เนื่องจากเนื้อหาของโครงงานมีความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับวิถีของประชาชนที่ยังคงเกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรม




คณะผู้จัดทำ
















1. ชื่อโครงการ
การผลิตกระถางต้นไม้จากฟางข้าว ลดภาวะโลกร้อน
2. ผู้จัดทำโครงการ
1. นางสาวจิตติมา สีแดง เลขที่ 2
2. นางภภัสสร ทับทิม เลขที่ 13
3. นางรุ้งเพชร รื่นเกษม เลขที่ 16
4. นางสาวอภัสรา ฉิมฉ่ำ เลขที่ 34
3. อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์สุธิมา เทศถมยา
4. ที่มาและความสำคัญของโครงการ
กระถางต้นไม้ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนมากทำด้วยพลาสติก ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายยาก ใช้เวลาเป็น 10 ปี กว่าจะย่อยสลาย และพลาสติกยังเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโลกอยู่ในขณะนี้
5.วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อศึกษาทดลองนำฟางข้าวมาทำกระถางเพื่อปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผลและเพาะพันธุ์พืช
2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการย่อยสลายของฟางข้าว
6. เป้าหมาย ด้านปริมาณ
ด้านคุณภาพ คณะผู้จัดทำรู้จักสังเกต รู้จักวิเคราะห์ รู้จักปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน และรู้จักการ พัฒนาศักยภาพ ตนเองอย่างสม่ำเสมอ
7. ผู้ไห้ข้อมูล
หนังสือพิมพ์แนวหน้า ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2551 รายงานพิเศษ ประจำปี 17 เมษายน 2551 ( กระถางต้นไม้จากขุยมะพร้าว ไอเดียลดโลกร้อน มทร.ธัญบุรี )
8. ขั้นตอนการทำ
8.1. วัสดุ
1. ฟางข้าว 100 กรัม
2. ปุ๋ยหมัก ( มูลวัว ) 150 กรัม
3. กาวแป้งเปียก 50 กรัม
4. กระถางเคลือบ ขนาดต่าง ๆ

8.3. วิธีทำ
1. นำฟางข้าว ปุ๋ยหมัก ( มูลวัว ) และกาวแป้งเปียก ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. นำไปอัดด้วยกระถางขนาดต่างกัน ซึ่งแรงอัดดังกล่าว จะทำให้กระถางที่ได้ออกมามีรูปทรงและลักษณะตามที่ต้องการ
3. นำไปตากแดดจะไม่เกิดรอยร้าว รวมทั้งไม่แตกที่ปากขอบกระถางด้วย
4. นำกระถางที่ได้ไปตากแดด ทิ้งไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง เมื่อกระถางแห้งดีแล้วก็สามารถนำมาใช้งานได้ทันที
9. งบประมาณในการทำโครงการ
ค่าเตรียมวัสดุ – อุปกรณ์ ในการทำโครงงาน 200 บาท
ค่าพิมพ์เอกสาร 200 บาท
10. ประโยชน์ที่ได้รับ
1. มีความยืดหยุ่นสูง รากของกิ่งสามารถชอนไชออกจากก้นของกระถางได้ดี
2. มีความสามารถในการอุ้มน้ำและการระบายความร้อนของกระถางได้ดี
3. สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
4. สามารถนำต้นกล้าไปปลูกทั้งกระถางได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาดึงต้นกล้าออกจากกระถาง รากต้นกล้าจะไม่ขาดออกจากต้น ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี
5. มีความแข็งแรงทนทาน
6. ไม่มีมลพิษเพราะเป็นสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติ
11. ระยะเวลาดำเนินการกลุ่ม
วันที่ 26 ต.ค. 2551 – 4 ม.ค. 2552
11.1. ปฎิทินในการปฎิบัติการ

วัน เดือน ปี
วิธีดำเนินการ
26-31 ต.ค. 2551
1-9 พ.ย. 2551
16 พ.ย. 2551
17-22 พ.ย. 2551
24 พ.ย. 2551
25-30 พ.ย. 2551
1-15 ธ.ค. 2551
21 ธ.ค. 2551
22-30 ธ.ค. 2551
4 ม.ค. 2552
- ประชุมกลุ่มเพื่อปรึกษาและศึกษาค้นคว้าเพื่อเลือกหัวข้อโครงงานวิทยาศาสตร์
- ศึกษาค้นคว้าเอกสารต่าง ๆ เพื่อจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
- เสนอเค้าโครงงานวิทยาศาสตร์ต่ออาจารย์ผู้สอน
- แก้ไขเค้าโครงงาน ฯ ตามคำแนะนำของอาจารย์ผู้สอน
- ประชุมกลุ่มเพื่อทำการทดลองตามเค้าโครงงานวิทยาศาสตร์
- ทำการทดลอง บันทึกผลการทดลอง
- จัดทำรายงานผลการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
- แก้ไขข้อบกพร่องของรายงาน ตามคำแนะนำของอาจารย์ผู้สอน
- จัดทำรายงานผลการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ฉบับที่แก้ไขถูกต้อง
- นำผลการทดลอง และรายงาน ฯ ส่งอาจารย์ผู้สอน

วิธีดำเนินการของกลุ่ม
1. ประชุมกลุ่มเพื่อปรึกษาและศึกษาค้นคว้าเพื่อเลือกหัวข้อโครงงานวิทยาศาสตร์
2. ศึกษาค้นคว้าเอกสารต่าง ๆ เพื่อจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
3. เสนอเค้าโครงงานวิทยาศาสตร์ต่ออาจารย์ผู้สอน
4. แก้ไขเค้าโครงงาน ฯ ตามคำแนะนำของอาจารย์ผู้สอน
5. ประชุมกลุ่มเพื่อทำการทดลองตามเค้าโครงงานวิทยาศาสตร์
6. ทำการทดลอง บันทึกผลการทดลอง
7. จัดทำรายงานผลการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
8. แก้ไขข้อบกพร่องของรายงาน ตามคำแนะนำของอาจารย์ผู้สอน
9. จัดทำรายงานผลการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ฉบับที่แก้ไขถูกต้อง
10. นำผลการทดลอง และรายงาน ฯ ส่งอาจารย์ผู้สอน
12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. กระถางที่ผลิตตรงตามความต้องการของเกษตรกร
2. เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
3. เป็นทางเลือกมากขึ้นสำหรับผู้ใช้กระถางเพาะชำ
4. ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
5. เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่เกษตรกร
13. สถานที่ดำเนินการ
บ้านนางภภัสสร ทับทิม
14. ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. นางสาวจิตติมา สีแดง
2. นางภภัสสร ทับทิม
3. นางรุ้งเพชร รื่นเกษม
4. นางสาวอภัสรา ฉิมฉ่ำ
15. ปัญหา
การวางแผนการผลิตไม่ดี
ขาดการประสานงาน
ขาดความอดทน ท้อใจก่อน
ต้นทุนการผลิตสูงเกินไป
15.1 การแก้ปัญหา
วางแผนการทำงานใหม่
นัดหมายกับคณะทำงาน
ร่วมมือร่วมใจกันทำงาน
ลดต้นทุนการผลิต
การจัดการด้านผลิตภัณฑ์
สินค้าจะขายได้นั้น เราต้องรู้จักคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ริเริ่มเป็นครั้งแรกไม่เคยมีใครผลิตมาก่อน
ผลิตภัณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ คือ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ในตลาด
ผลิตภัณฑ์มีความบกพร่อง เช่น ออกแบบไม่ดี คุณภาพไม่ดี
การจัดการเรื่องคน
ต้องแบ่งบทบาทหน้าที่กันชัดเจน เปิดเผยข้อมูลกลุ่ม การแบ่งปันผลประโยชน์ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมาย
ด้านปริมาณ
ผลิตกระถางได้วันละประมาณ 30 ใบ
ด้านคุณภาพ
ผู้จัดทำรู้จักสังเกต รู้จักวิเคราะห์ รู้จักปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน และรู้จักการพัฒนาศักยภาพ ตนเองอย่างสม่ำเสมอ


























กระถางต้นไม้จากฟางข้าว
เป็นที่ทราบกันดีว่าวัสดุที่ทำมาจากพลาสติกนั้น เป็นวัสดุที่ย่อยสลายยากและต้องใช้เวลาหลายสิบปีทีเดียวกว่าพลาสติกเหล่านี้จะย่อยสลาย ที่สำคัญพลาสติกยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโลกอยู่ในขณะนี้ หลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างหันมาช่วยกันรณรงค์ในเรื่องของการลดภาวะโลกร้อนด้วยกันหลายวิธีและวิธีลดการใช้พลาสติกก็เป็นอีกแนวทางในการรณรงค์ในเรื่องดังกล่าว
ผลจากการนำเอากระถางที่ทำจากฟางข้าวไปใช้งานจริง พบว่ามีความแข็งแรงและทนทานของกระถางอยู่ในระดับที่ดี มีความยืดหยุ่นสูง รากของกิ่งสามารถชอนไชออกจากก้นของกระถางได้ดี มีความสามารถในการอุ้มน้ำและการระบายของความร้อนของกระถางอยู่ในระดับดี และเมื่อฝังกระถางลงในดินรากของกิ่งชำยังสามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติได้อีกด้วย
สำหรับวิธีการผลิตกระถางจากฟางข้าว ประกอบด้วยส่วนผสมดังนี้ ฟางข้าว 100 กรัม, ปุ๋ยหมัก 150 กรัม และกาวแป้งเปียก 50 กรัม ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำไปอัดด้วยกระถางขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งจากแรงอัดดังกล่าวจะทำให้กระถางได้ออกมามีรูปทรงและลักษณะตามที่ต้องการ และเมื่อนำไปตากแดดจะไม่เกิดรอยร้าวรวมทั้งไม่แตกที่ปากขอบกระถางด้วย ทั้งนี้ส่วนผสมดังกล่าวจะผลิตกระถางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้วได้จำนวน 1 กระถาง และหลังจากนำกระถางที่ได้ไปตากทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที เมื่อกระถางแห้งดีแล้วก็สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
จากการทดลองใช้ หากเปรียบเทียบในเรื่องของความคงทน พลาสติกจะทนกว่าอยู่แล้วแต่ในเรื่องของการอุ้มน้ำกระถางจากฟางข้าว สามารถอุ้มน้ำได้นานกว่า นอกจากนี้ เวลานำต้นไม้จากกระถางไปปลูก หากใช้กระถางพลาสติกในการเพาะชำจะทำให้รากต้นไม้ขาดได้ เพราะต้องดึงต้นไม้ออกจากกระถางก่อนนำไปปลูก แต่ในทางกลับกัน หากใช้กระถางที่ทำจากฟางข้าว สามารถนำต้นกล้าไปปลูกทั้งกระถางได้เลยโดยไม่ต้องเสียเวลาดึงต้นกล้าออกจากกระถาง รากต้นกล้าจึงมีโอกาสที่จะขาดออกจากต้น ทำให้ต้นไม้ที่เพาะในกระถางจากฟางข้าวเจริญเติบโตได้ดีกว่า
การใช้กระถางที่ทำจากฟางข้าวสามารถอุ้มน้ำได้ดีกว่าและนานกว่า สามารถรดน้ำทิ้งไว้ 2-3 วัน ค่อยกลับมารดอีกทีก็ได้ ทำให้ไม่ต้องกังวลเวลาไปไหนนาน ๆ 2-3 วัน นอกจากนี้การที่รากต้นกล้าไม่ขาดทำให้เห็นความแตกต่างในการเจริญเติบโตได้อย่างชัดเจนทีเดียว กระถางจากฟางข้าวเหมาะสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลต้นไม้ และยังเหมาะสำหรับผู้ที่รับจัดสวนแบบที่ต้องใช้ต้นไม้เยอะ ๆ โดยจัดเป็นกลุ่ม เป็นโซนตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่ต้องดูแลรดน้ำบ่อย ๆ หากสามารถลดต้นทุนให้ได้เท่ากับกระถางพลาสติกซึ่งมีราคาอยู่ที่ 3 บาท/กระถาง เชื่อว่าเกษตรกรเจ้าของสวนเพาะชำกล้าไม้จะหันมาใช้กระถางจากวัสดุจากการเกษตรแบบนี้มากขึ้นทีเดียว








ภาคผนวก






ขั้นตอนการทำกระถาง


วัสดุที่ใช้


คลุกวัสดุรวมกัน





หุ้มกระถาง







นำกระถางตากแดดให้แห้งึ

2 ความคิดเห็น:

  1. อยากให้คุณปรับปรุงขนาดตัวหนังสือ และการจัดเรียงเอกสาร

    ตอบลบ
  2. หนังสือตัวเล็กเกินปัย ไม้เอก ไม้โทหาย

    ตอบลบ